วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

งานช้างจังหวัดสุรินทร์


title1.gif (4777 bytes)


 
              ย้อนอดีตกลับไปเมื่อ ๒๐๐ กว่าปีที่ผ่านมาในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์ กษัตริย์องค์สุดท้าแห่งกรุงศรีอยุธยาช้างเผือกสำคัญแตกโรงหนีเข้าป่ามาทางเมืองพิมาย พระองค์จึงโปรดฯ ให้ทหาออกติดตาม จนกระทั่งถึงเขตที่ชุมชนชาวกูย (กวย) อาศัยอยู่ ซึ่งชาวกวยกลุ่มนี้เป็นพวกที่มีความชำนาในการคล้องช้างและจับช้างอย่างยิ่งในที่สุดก็สามารถติดตามช้างเผือกจนพบและนำกลับสู่กรุงศรีอยุธยาความดีความชอบในครั้งนั้น ส่งผลให้หัวหน้าชาวกูยที่เป็นคณะติดตามช้างได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ
                พร้อมกับโปรดฯ ยกบ้านให้เป็นเมืองและหนึ่งในบรรดาหัวหน้าชาวกูยก็คือ “เชียงปุม” ซึ่งได้รัพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงสุรินทร์ภักดี” และต่อมา ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์ จางวาง” ผู้เป็นเจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดสุรินทร์
                 จากอดีตสู่ปัจจุบันลูกหลานชาวกูยยังคงสืบทอดมรดกอันล้ำค่าจากบรรพบุรุษ นั่นคือ “การคล้องช้าง” และการเลี้ยงช้างเสมือนหนึ่งสมาชิกในครอบครัว ทำให้ชาวกูยแห่งเมืองสุรินทร์มีความผูกพันแนบแน่นกับสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลกนามว่า “ช้าง” เป็นเวลาช้านานปี ๒๔๙๘ ถือว่าเป็นปีแห่ง การชุมนุมช้างของชาวกูยอย่าง ไม่ได้ตั้งใจก็ว่าได้ ซึ่งการชุมนุมช้างในครั้งนั้น เกิดจากข่าวที่ว่าจะมีเฮลิคอปเตอร์มาลงที่บ้านตากลาง (เป็นหมู่บ้านของชาวกูย เลี้ยงช้าง ตั้งอยู่ที่ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์) ชาวบ้านจึงชักชวนกันไปดู ในสมัยนั้นพาหนะที่ใช้กันโดยทั่วไปของชาวกูยก็คือช้างซึ่งถูกฝึกมาเป็นอย่างดี แต่ละคนแต่ละครอบครัวก็พากันนั่งช้างมาดูเฮลิคอปเตอร์ พอไปถึงจุดที่เฮลิคอปเตอร์จอด ปรากฏว่าช้างที่ไปรวมกันนั้นนับได้กว่า ๓๐๐ เชือก ทำเอาคนที่มากับเฮลิคอปเตอร์ตกใจและแปลกใจมากกว่า ชาวบ้านเสีย



                เหตุการณ์ชุมนุมช้างอย่างไม่ได้ตั้งใจในปี ๒๔๙๘ ทำให้ผู้คนที่ทราบข่าวต่างพากันสนใจกันเป็นจำนวนมาก และในปี ๒๕๐๓ อำเภอท่าตูม ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านช้างได้มีการเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ นายวินัย สุวรรณประกาศ ซึ่งเป็นนายอำเภอในขณะนั้นได้เชิญชวนให้ชาวกูยเลี้ยงช้างทั้งหลาย ให้นำช้างของตนมาจัดแสดงให้ประชาชนได้ดูได้ชมกันเนื่องจากไม่สามารถจะไปคล้องช้างตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาได้อย่างเคย อันเนื่องมาจากปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ

              การแสดงในครั้งนั้นด้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งนอกจากจะมีการแสดงคล้องช้างให้ดูแล้ว ยังมีการเดินขบวนแห่ช้าง การแข่ง วิ่งช้าง และในกลางคืนก็ได้มีงานรื่นเริงมีมหรสพต่างๆ ตลอดคืน ซึ่งใครจะคาดคิดว่าจากงานเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอเล็กๆ แห่งหนึ่งในถิ่นทุรกันดารของภาคอืสานเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ จะกลายมาเป็นงานประเพณีของชาติที่โด่งดังไปทั่วโลกนับต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน ประเพณีการแสดงของช้างได้ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลาร่วม ๔๐ ปี แล้ว ถ้าเป็นคนก็ถือว่าย่างเข้าสู่วัยกลางคนก็ไม่ผิดเท่าใดนักสุรินทร์ จังหวัดที่เคยเงียบเหงาในอดีต ได้ถูกชาวกูยและช้างสร้างให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างน่าภาคภูมิใจ วีรกรรมของชาวกูยปัจจุบันไม่ได้แตกต่างจากบรรพบุรุษเลยแม้แต่น้อย...




...สุรินทร์เมืองที่สร้างจากส่วย (กูย) รวยเพราะช้าง...



งานมหัศจรรย์งานช้างจังหวัดสุรินทร์ปี 2555

  




                   การจัดงานมหัศจรรย์งานช้างจังหวัดสุรินทร์ เป็นการจัดงานที่จังหวัดร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ และประชาชนจังหวัดสุรินทร์ ได้ถือปฏิบัติจัดเป็นประเพณีสืบทอดติดต่อกันมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่งานประเพณี ศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดและอนุภูมิภาค ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล สำหรับปีนี้ ได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ในบริเวณงาน เช่น การเดินแบบผ้าไหมการกุศล การประกวดสาวงามเมืองช้าง การประกวดผ้าไหมโบราณ ผ้าไหมสากล การประกวดผลิตผลทางการเกษตร การจัดนิทศกรรของส่วนราชการ การจัดงานในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง จากผู้บริหารท้องถิ่นทุกระดับ และทีส่วนช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ ของจังหวัดสุรินทร์ให้ดีขึ้น


                 กำหนดวันจัดงานมหัศจรรย์งานช้าง สุรินทร์ 2555 ออกมาแล้ว ปีนี้จะมีขึ้นในวันที่ 14-25 พย 2555 ก็ปลายปีนี้ งานนี้ก็เรียกว่า "งานช้าง"  จัดกันมาหลายสิบปีจนเป็นตำนานของคนเลี้ยงช้างและชาวกุยเมืองสุรินทร์ไปแล้ว

                ในงานก็จะมี งานเลี้ยงอาหารฝูงช้างกว่า 250 เชือก งานแสดงช้าง แสดงแสง สีเสียง ตำนานปราสาทพันปีศีขรภูมิ และอื่นๆ อีกด้วย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น